บทความ

ผู้ตัดสิน

รูปภาพ
 1 คุณสมบัติของผู้ตัดสินกีฬาเซปักตะกร้อ 1. บุคลิกดี แต่งกายดี เป็นที่นับถือของผู้พบเห็น  2. ตรงต่อเวลา  3. ร่างกายแข็งแรงและมีความพร้อมอยู่เสมอ   4. รอบรู้ เข้าใจในกติกาการแข่งขันเป็นอย่างดี   5. สายตาดี มีการสังเกต และมีศิลปะของการเป็นผู้ตัดสินกีฬา      “แม่นกติกา สายตาดี มีความยุติธรรม นำศิลปะมาใช้ในการตัดสิน”   6. มีจิตวิทยา มีความเข้าใจธรรมชาติของผู้เล่น และมีความยืดหยุ่น เมื่อไรควรเอาจริง   เข้มงวด อดกลั้น เพิกเฉย หรือมองข้ามการกระทำบางอย่าง   7. หมั่นหาประสบการณ์ ดูการแข่งขัน วิธีการเล่นของทีม และผู้เล่นแต่ละคน   (ดูเทคนิคและแทคติก)   8. อารมณ์มั่นคง อดทน อดกลั้น มีสมาธิ ควบคุมสติตนเองได้ทุกสถานการณ์   9. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ใช้คำพูดเหมาะสม สุภาพอ่อนโยน   10. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น   11. หมั่นศึกษากติกาและติดตามการเคลื่อนไหวของวงการกีฬาเซปักตะกร้อทั้งในประเทศ   และต่างประเทศ   12. เข้าร่วมสัมมนาผู้ตัดสินกีฬาทุกครั้ง  ...

การบังคับตะกร้อ

 หัวข้อเนื้อหา การสร้างความชำนาญการในการฝึกบังคับหรือการควบคุมลูกตะกร้อด้วยการเดาะ ระยะเวลา ปฏิบัติ5 ชั่วโมง ขอบข่ายเนื้อหา การฝึกบังคับ หรือควบคุมลูกตะกร้อด้วยเท้า เข่า และศีรษะ เนื้อหา 1. การเดาะลูกตะกร้อด้วยหลังเท้า 2. การเดาะลูกตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน 3. การเดาะลูกตะกร้อด้วยเข่า 4. การเดาะลูกตะกร้อด้วยศีรษะ กิจกรรมการเรียน 1. อธิบายและสาธิต 2. ฝึกปฏิบัติ สื่อและอุปกรณ์การฝึกอบรม 1. สนามตะกร้อ 2. ลูกตะกร้อ 3. VCD 10 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาเซปักตะกร้อ T-Certificate หัวข้อเนื้อหา การสร้างความชำนาญในการฝึกการพักลูกและการรับ-ส่งลูกตะกร้อ ระยะเวลา ปฏิบัติ3 ชั่วโมง 30 นาที ขอบข่ายเนื้อหา ศึกษาและฝึกปฏิบัติวิธีการรับลูกตะกร้อ วิธีการส่งลูกตะกร้อ วิธีการพักลูกตะกร้อ วิธีการสร้างความชำนาญในการรับและการส่งลูกตะกร้อ ข้อแนะนำการรับและการส่งลูกตะกร้อ กระทบผนัง เนื้อหา 1. วิธีการรับลูกตะกร้อ 2. วิธีการส่งลูกตะกร้อ 3. วิธีการพักลูกตะกร้อ 4. วิธีการสร้างความชำนาญในการรับและการส่งตะกร้อ 5. ข้อแนะนำในก...

การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up)

  การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up)  จุดมุ่งหมาย   • เพื่อกระตุ้นระบบการเผาผลาญอาหารในร่างกายสำหรับความพร้อมที่จะหลั่งสารพลังงาน  • เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตของร่างกาย  • เพื่อลดระยะเวลาการหดตัวและการตอบสนองของกล้ามเนื้อ  • เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ  • เพื่อพัฒนาความแข็งแรงเอ็นยึดข้อต่างๆ เอ็นข้อต่อที่คอ ไหล่ เข่า ข้อเท้า ข้อศอก การฝึกด้วยทักษะกีฬาชนิดนั้นๆ  วิธีอบอุ่นร่างกาย  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนไหว (Dinamic Stretching)  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่ (Static Stretching) หลังจากยืดเหยียดกล้ามเนื้อและกายบริหารแล้ว จะใช้แบบฝึกทักษะต่อเพื่อเตรียม ความพร้อมระหว่างกล้ามเนื้อต่างๆ กับการสั่งการด้วยสายตา เช่น แบบฝึกทักษะการรับ-ส่งลูกตะกร้อ เป็นต้น  การอบอุ่นร่างกายโดยทั่วไป ประกอบด้วย  • การวิ่งเหยาะๆ การบริหารกล้ามเนื้อด้วยการยืดเหยียด (Streching)  • มีระยะเวลาความเข้มให้พอเหมาะ โดยไม่เกิดความเมื่อยล้า เมื่อเหงื่อเริ่มออกแสดงว่า อุณหภูมิในร่างกายถึงจุดเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม การอบอุ่นร่างกายสำหรับนัก...

เทคนิคเสิร์ฟตะกร้อจี้เกมรับกดดันคู่แข่ง

รูปภาพ
  “เสิร์ฟ” แบบไหนให้ได้แต้ม ! 5 เทคนิคเสิร์ฟตะกร้อจี้เกมรับกดดันคู่แข่ง พูดถึงกีฬาตะกร้อแล้ว หลาย ๆ คนคงจะนึกถึงลีลาการกระโดดขึ้นฟาดหน้าเน็ตที่ดูแล้วสวยงาม เร้าใจ แต่อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันและถือเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของกีฬาชนิดนี้ ก็ต้องยกให้ “ลูกเสิร์ฟ” ซึ่งปัจจุบันหลาย ๆ คนก็คงได้เห็นการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าที่หนักหน่วงที่สร้างชื่อมาจาก “โจ้” สืบศักดิ์ ผันสืบ ในยุคก่อน จนมาถึงปัจจุบันที่ต้องยกให้ “ยาวปืนใหญ่’ สิทธิพงศ์ คำจันทร์ ที่ยกเท้าเสิร์ฟแต่ละทีมีคะแนนให้ได้ลุ้นกันตลอด วันนี้เราจะพาทุกท่านไปดูกันว่า “การเสิร์ฟตะกร้อ” นอกจากหลังเท้าแล้ว มีอะไรอีกบ้าง   ลูกเสิร์ฟข้างเท้า - (แม่นยำ - ลูกหมุนรับยาก!)   ในยุคก่อนที่จะมีการคิดค้นการเสิร์ฟลูกหลังเท้า ตัวเสิร์ฟทุกคนจะใช้ข้างเท้าในการเสิร์ฟเป็นส่วนใหญ่ และถือว่าเป็นการเสิร์ฟที่มีความหลากหลาย อาจจะไม่ได้หนักหน่วงมากนัก แต่การเสิร์ฟด้วยข้างเท้า ถือว่าเป็นอาวุธเด็ดในการใช้ความแม่นยำจู่โจมจุดอ่อนคู่แข่งได้ดี ซึ่งตัวเสิร์ฟที่ใช้ข้างเท้าเสิร์ฟนั้น หากสามารถฉีกขาได้มาก ๆ ก็สามารถเสิร์ฟได้หนักหน่วงไม่แพ้ลูกหลังเท้า แต่สิ่งสำคัญที...

การฝึกเล่นตะกร้อ

รูปภาพ
  ขั้นตอนการฝึกการเล่นตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน 1.  ผู้เล่นเตรียมรับลูกที่ลอยมา  โดยยืนทรงตัวแยกขาทั้งสองข้างย่อตัวลงเล็กน้อยตามองตรงไปยังลูกตะกร้อ  ยกเท้าที่จะเตะให้ข้างเท้าด้านในขนานกับพื้นแล้วเตะลูกเป็นแนวตรงและเอนตัว ไปด้านหลัง (ดังรูปที่  1 - 2)   2.  เมื่อลูกที่เตะลอยขึ้น  ผู้เล่นย่อเข่าข้างที่ไม่ได้เตะ  ให้เท้าที่จะใช้เตะอยู่ด้านหลังเหวี่ยงเท้าข้างที่จะเตะสัมผัสลูกด้วยข้าง เท้าด้านในเพื่อส่งลูกไปตามทิศทางที่ต้องการ  การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า             การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า หมายถึง การเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า  เบาๆ ซ้ำกันหลายๆครั้ง เป็นการเตะเพื่อบังคับลูกให้อยู่ใกล้ตัวในระดับสูงเกินสะเอว หลักการฝึกเช่นเดียวกับการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า แต่มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งมีหลักการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า ดังนี้ 1. การเดาะลูกด้วยหลังเท้า ปลายเท้าที่เดาะลูกจะกระดกขึ้น และลูกตะกร้อจะถูกหลังเท้าค่อนไปทางปลายเท้าบริเวณโคนนิ้วเท้าทั้งห้า ใช้ปลายเท้าตวัดลูกตะกร้อให้ลอยขึ้นมาตรง ๆ 2.  ยกเท้าที่เดาะลูกใ...