ผู้ตัดสิน

 1 คุณสมบัติของผู้ตัดสินกีฬาเซปักตะกร้อ


1. บุคลิกดี แต่งกายดี เป็นที่นับถือของผู้พบเห็น

 2. ตรงต่อเวลา

 3. ร่างกายแข็งแรงและมีความพร้อมอยู่เสมอ 

 4. รอบรู้ เข้าใจในกติกาการแข่งขันเป็นอย่างดี 

 5. สายตาดี มีการสังเกต และมีศิลปะของการเป็นผู้ตัดสินกีฬา 

    “แม่นกติกา สายตาดี มีความยุติธรรม นำศิลปะมาใช้ในการตัดสิน” 

 6. มีจิตวิทยา มีความเข้าใจธรรมชาติของผู้เล่น และมีความยืดหยุ่น เมื่อไรควรเอาจริง 

 เข้มงวด อดกลั้น เพิกเฉย หรือมองข้ามการกระทำบางอย่าง 

 7. หมั่นหาประสบการณ์ ดูการแข่งขัน วิธีการเล่นของทีม และผู้เล่นแต่ละคน 

 (ดูเทคนิคและแทคติก) 

 8. อารมณ์มั่นคง อดทน อดกลั้น มีสมาธิ ควบคุมสติตนเองได้ทุกสถานการณ์ 

 9. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ใช้คำพูดเหมาะสม สุภาพอ่อนโยน 

 10. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 

 11. หมั่นศึกษากติกาและติดตามการเคลื่อนไหวของวงการกีฬาเซปักตะกร้อทั้งในประเทศ 

 และต่างประเทศ 

 12. เข้าร่วมสัมมนาผู้ตัดสินกีฬาทุกครั้ง 

 13. มีความยุติธรรม 

 14. มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกล้าหาญ มีการตัดสินใจที่ดี และสามารถแก้ปัญหา 

 เฉพาะหน้าได้ทุกสถานการณ์ 

    “ผู้ตัดสินกีฬาย่อมไม่โง่” 

 15. อุปกรณ์การตัดสินต้องใช้ชนิดที่ดีมีประสิทธิภาพ ได้แก่ นกหวีด และนาฬิกาจับเวลา 

 16. มีความรู้ความสามารถในการทำใบบันทึกคะแนน 

 17. สังเกตความแตกต่างชนิดของแบบฟอร์มในระหว่างการแข่งขัน 

 18. ยอมรับการวิเคราะห์ ติชม ในการตัดสินของตนเองจากกรรมการเทคนิค 

 หรือประธานผู้ตัดสิน และนำไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น 

จรรยาบรรณของผู้ตัดสิน กีฬาเซปักตะกร้อ

1. รักและศรัทธาในสถาบันผู้ตัดสินกีฬา ถือว่าเป็นสถาบันทรงเกียรติ

 2. ตั้งใจจริงที่จะเข้ามาเป็นผู้ตัดสินกีฬา

 3. อุทิศตนเพื่อเสริมสร้างเกียรติภูมิแก่สถาบันผู้ตัดสินกีฬา 

 4. ไม่กระทำการใดที่เป็นการลบหลู่และทำลายสถาบันผู้ตัดสินกีฬา 

 5. ประพฤติปฏิบัติตามกระบวนการและระเบียบแบบแผนของการเป็นผู้ตัดสินกีฬา 

 6. ศึกษา ใฝ่หาความรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการตัดสินกีฬาเป็นนิจ 

 7. แสดงความรับผิดชอบเมื่อได้รับมอบหมายให้ตัดสินกีฬา 

 8. มีความตรงต่อเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ 

 9. รู้จักการวางตัว การแต่งกาย มีท่วงที กิริยาวาจาเหมาะสมกับกาลเทศะ 

 10. แสดงคารวะธรรมต่อผู้มีพระคุณที่ให้การอบรมสั่งสอน ประธานผู้ตัดสิน และผู้ตัดสินรุ่นพี่ 

 11. ไม่เสพเครื่องมึนเมา สารกระตุ้น หรือสูบบุหรี่ก่อนปฏิบัติหน้าที่ 

 12. สร้างความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจก่อนปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง 

 13. มีความซื่อสัตย์สุจริตในขณะปฏิบัติหน้าที่ตัดสินกีฬา 

 14. ให้ความยุติธรรมแก่นักกีฬาทั้งสองฝ่าย 

 15. ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใดๆ ในขณะตัดสินกีฬา 

 16. ไม่แสดงความท้อแท้ในสถานการณ์ที่กดดัน ควบคุมอารมณ์ได้ 

 17. แสดงความเชื่อมั่นตนเอง กล้าตัดสินใจเฉียบพลัน 

 18. แสดงออกและสร้างสรรค์ความมีน้ำใจนักกีฬาแก่นักกีฬา 

 19. ไม่ให้ข่าวเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่การตัดสินกีฬาของตน 

 20. ไม่วิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสินคนอื่น 

กรรมการผู้ชี้ขาด  (Official Referee)

ผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินปัญหาใดๆ อันเป็นข้อขัดแย้งของนักกีฬาหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัย

ตามข้อกำหนดของกติกาการแข่งขัน และหากไม่มีระบุไว้ในกติกาการแข่งขันก็สามารถใช้ดุลยพินิจ

ของตนเองแก้ไขปัญหาดังกล่าว และถือเป็นที่สิ้นสุด 

 

หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการผู้ชี้ขาดกีฬาเซปักตะกร้อ 

(Official Referee’s Duties and Responsibilities) 

 • ควบคุมการดำเนินการจัดการแข่งขันให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกติกาการแข่งขัน

ด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม 

 • จัดผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน และผู้ตัดสินกำกับเส้น ในการปฏิบัติหน้าที่แต่ละครั้ง 

หรือแต่ละคู่ 

 • สำรวจความพร้อมของอุปกรณ์เทคนิคต่างๆ 

 • ประชุม แนะนำ ให้ข้อคิด และอื่นๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน 

ผู้ตัดสินกำกับเส้น และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 

 • หยุดเกมการแข่งขัน เมื่อมีเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขัน 

จนไม่สามารถดำเนินการแข่งขันต่อไปได้ 

 • แก้ไขปัญหาต่างๆ โดยอาศัยตามข้อกำหนด กติกาการแข่งขัน ระเบียบการแข่งขัน 

และใช้ดุลยพินิจของตนเองด้วยความเป็นธรรม 

 • บันทึกหลักฐานและจัดเก็บเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ 

 • สรุปผลการแข่งขันและเสนอรายงานต่อประธานกรรมการจัดการแข่งขัน 

ผู้ตัดสินกีฬา (Match Referee) 

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตัดสินกีฬาเซปักตะกร้อ  (Match Referee’s Duties and Responsibilities) 1. สำรวจความพร้อมของเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การตัดสินก่อนมาปฏิบัติหน้าที่

 2. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความหนักแน่น ยุติธรรม โดยยึด 

 • กติกาการแข่งขัน 

 • ระเบียบการแข่งขัน 

 • แนวปฏิบัติและขั้นตอนการตัดสิน 

 3. รายงานตัวต่อหัวหน้าผู้ตัดสิน ณ สนามแข่งขัน ก่อนเวลาแข่งขัน 60 นาที 

 4. ตรวจสภาพตาข่าย ตะกร้อ และสนามแข่งขัน ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ในการแข่งขัน 

 5. รอรับมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่จากหัวหน้าผู้ตัดสิน 

 6. ปฏิบัติหน้าที่ในการเสี่ยง เพื่อตัดสินว่าทีมใดเป็นฝ่ายเสิร์ฟ ทีมใดเป็นฝ่ายเลือกแดน 

โดยนำลูกตะกร้อ 2 ลูก และใบบันทึกคะแนนลงไปด้วย 

 7. ควบคุมการวอร์มของนักกีฬา โดยให้ทีมที่ชนะการเสี่ยงเป็นทีมวอร์มก่อน 

 8. ประกาศชื่อเกมการแข่งขัน และหมายเลขทั้งสองทีมในการแข่งขัน (ประเภททีมชุด) 

สำหรับประเภททีมเดี่ยวไม่ต้องประกาศหมายเลขผู้เล่นอีก 

 9. ประกาศผลการเสี่ยง บอกชื่อทีมที่เป็นฝ่ายเสิร์ฟก่อน 

 10. ประกาศเตือนนักกีฬาให้พร้อม และเริ่มการแข่งขัน 

 11. ควบคุมการแข่งขันให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย จนสิ้นสุดการแข่งขัน 

 12. ในระหว่างการแข่งขัน ให้ประกาศสั้นๆ เสียงดังด้วยคำต่างๆ ดังนี้ 

 หยุด (STOP) อีกแต้มเดียวเกม (GAME POINT/MATCH POINT) 

 ผู้ตัดสินกำกับเส้น (LINE REFEREE) ชนะ (WIN) 

 ผู้ช่วยผู้ตัดสิน (ASSISTANT REFEREE) เซ็ทที่ 1 (FIRST SET) 

 ส่งลูก (SERVE) เซ็ทที่ 2 (SECOND SET) 

 ตาข่าย (NET) เซ็ทไทเบรก (TIE BREAK SET) 

 เสีย (FAULT) ส่งใหม่ (LET) 

 ออก (OUT) เปลี่ยนแดน (CHANGE SIDE) 

 ดี (IN) เวลานอก (TIMEOUT) 

 ได้แต้ม (POINT) ดิวส์คู่ไม่เกิน 17 คะแนน (SETTING UP TO 17 POINTS) 

 13. ประกาศขานแต้มก่อนเสิร์ฟทุกครั้ง 

 14. ประกาศขอเวลานอกในแต่ละเซ็ทที่ทีมขอเวลานอก 

 15. ประกาศเมื่อมีการเปลี่ยนตัวนักกีฬา 

 16. ประกาศสรุปผลเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในคู่ที่ตัดสิน และให้นักกีฬาสัมผัสมือ 


ผู้ช่วยผู้ตัดสินกีฬา  (Assistant Referee)


หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ช่วยผู้ตัดสินกีฬาเซปักตะกร้อ (Assistant Referee’s Duties and Responsibilities) 

 1. สำรวจความพร้อมของเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การตัดสินก่อนมาปฏิบัติหน้าที่

 2. รายงานตัวต่อหัวหน้าผู้ตัดสิน ณ สนามแข่งขัน ก่อนเวลาแข่งขัน 60 นาที 

 3. รอรับมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่จากหัวหน้าผู้ตัดสิน 

 4. นำผู้ตัดสินกำกับเส้นลงสนาม (ตามลักษณะของสนาม) เมื่อทีมที่สองทำการวอร์มได้

ประมาณ 1 นาที 

 5. ขณะปฏิบัติหน้าที่ ควรยืนในลักษณะที่เข้มแข็งและเตรียมพร้อม 

 6. ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ตัดสินในบริเวณเส้นกลางตาข่าย โดยให้สัญญาณมือ ดังนี้ 

 • ล้ำเส้นกลาง ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งชี้ไปที่เส้นกลาง มืออีกข้างหนึ่งชี้ไปทางด้าน 

ฝ่ายได้เสิร์ฟ 

 • ถูกตาข่าย ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งชี้ไปที่ตาข่าย มืออีกข้างหนึ่งชี้ไปทางด้าน 

ฝ่ายได้เสิร์ฟ 

 7. ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ตัดสินเกี่ยวกับการทำผิดกติกาของผู้เล่น โดยเฉพาะจุดบอด 

ที่ผู้ตัดสินมองไม่เห็น 

 • ลูกอ้อม ใช้มือทั้งสองข้างมาแตะประสานเหนือศีรษะ 

 • ลูกถูกแขน ให้ยกมือข้างใดข้างหนึ่ง มืออีกข้างหนึ่งแตะที่แขน แล้วจึงให้

สัญญาณมือไปยังแดนเสิร์ฟ 

 • ลูกออก ให้ผายมือทั้งสองข้างออกไปข้างลำตัว 

 • ลูกดี ให้ชี้มือข้างใดข้างหนึ่งลงไปในแดนที่ลูกดี มืออีกข้างหนึ่งชี้ไปทาง 

ด้านฝ่ายได้เสิร์ฟ 

 • ผู้เล่น เล่นลูกเกิน 3 ครั้ง ให้ชูมือแสดงนิ้ว 4 นิ้ว เหนือศีรษะ 

 8. ขณะปฏิบัติหน้าที่ควรให้สัมพันธ์กับผู้ตัดสินในการให้สัญญาณเมื่อถูกถาม 

 9. เก็บลูกตะกร้อเมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขัน นำผู้ตัดสินกำกับเส้นออกจากสนามตามผู้ตัดสิน 

 10. นำลูกตะกร้อไปวางที่โต๊ะกรรมการจัดการแข่งขัน 

 11. พักผ่อนในที่ที่กรรมการจัดการแข่งขันจัดไว้ให้ 

กรรมการประจำสนาม (Court Referee) 


หน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ประจำสนามกีฬาเซปักตะกร้อ 

(Court Referee’s Duties and Responsibilities) 

 1. สำรวจความพร้อมของเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การตัดสินก่อนมาปฏิบัติหน้าที่ 

 2. รายงานตัวต่อหัวหน้าผู้ตัดสิน ณ สนามแข่งขัน ก่อนเวลาแข่งขัน 60 นาที 

 3. ตรวจสอบความพร้อมของสนามก่อนการแข่งขัน 

 4. นำนักกีฬาลงสนาม พร้อมด้วยเหรียญสำหรับเสี่ยง แผ่นรองใบบันทึกคะแนน 

 และลูกตะกร้อ จำนวน 2 ลูก 

 5. เป็นผู้ทำการเสี่ยง เพื่อได้ทีมที่เลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน 

 6. ควบคุมการอบอุ่นร่างกายให้สอดคล้องกับกติกาและระเบียบการแข่งขัน 

 (ทีมที่ชนะตามข้อ 3 ได้สิทธิ์อบอุ่นร่างกายก่อน ในเวลา 2 นาที หลังจากนั้น 

 ตามด้วยอีกทีม อนุญาตให้ 5 คน อยู่ในสนามขณะอบอุ่นร่างกาย) 

 7. จดบันทึกในขณะที่กำลังทำการแข่งขัน และทำใบบันทึกคะแนน 

 8. ควบคุม ดูแลในระหว่างเวลานอกและหยุดพักระหว่างการแข่งขัน 

 9. ตรวจและอนุญาตในกรณีการเปลี่ยนตัวนักกีฬา 

 10. ควบคุมสถานการณ์ ในกรณีมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น หรือการบาดเจ็บอย่างแรงของนักกีฬา 

 11. ให้คำแนะนำ ดูแล การแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาและระเบียบการแข่งขัน 

 (ตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการแข่งขัน) 

 12. จัดทำสรุปผลการแข่งขันในใบบันทึกคะแนน ก่อนส่งให้หัวหน้าผู้ตัดสิน 

 13. เข้าพักผ่อนในที่ที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดให้ 


ผู้ตัดสินกำกับเส้น (Line Referee) 

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตัดสินกำกับเส้นกีฬาเซปักตะกร้อ 

(Line Referee’s Duties and Responsibilities) 

 1. สำรวจความพร้อมของเครื่องแต่งกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ 

 2. รายงานตัวต่อหัวหน้าผู้ตัดสินกำกับเส้น ก่อนการแข่งขัน 60 นาที 

 3. การลงสนาม 

 • เดินตามผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน ยืนด้านขวามือของเก้าอี้ผู้ตัดสิน หรือคณะผู้ตัดสิน 

 • หลังจากผู้ประกาศประจำสนามประกาศรายชื่อคณะกรรมการผู้ตัดสินแล้ว 

 ให้ไปประจำตำแหน่งทางขวามือของผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสิน 

 • เวลาลงสนาม เดินตามผู้ช่วยผู้ตัดสินไปประจำตำแหน่ง โดยยืนรอจนกว่าผู้ตัดสิน 

 จะขึ้นนั่งบนเก้าอี้ จึงจะนั่งลงได้ 

 4. มีความรู้เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตัดสินกำกับเส้น 

 5. ปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจและเคร่งครัด 

 6. รักษาหน้าที่อย่างตั้งใจและเคร่งครัด 

 7. แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสม 

 8. ไม่สูบบุหรี่ รับประทานอาหาร ดื่มน้ำ พูด เชียร์ หรือโห่ฝ่ายใด 

 9. การให้สัญญาณมือ ขณะปฏิบัติหน้าที่ควรทำด้วยความมั่นใจ และให้สัญญาณมือ 

 เมื่อผู้ตัดสินถามเท่านั้น โดยให้สัญญาณมือ ดังนี้ 

 • ลูกดี ให้ชี้มือข้างหนึ่งลงไปในสนาม 

 • ลูกออก ให้งอแขนทั้งสองข้างหันฝ่ามือเข้าและขนานกับลำตัว 

 10. ขณะแข่งขัน นักกีฬาไล่เล่นลูกใกล้ตัวผู้ตัดสินกำกับเส้น ให้ผู้ตัดสินกำกับเส้นเคลื่อนที่ 

 โดยไม่กีดขวางการเล่นของนักกีฬา 

 11. เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้นลง ให้เดินเข้าไปยืนข้างหน้าผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสิน 

 เพื่อรับการเคารพจากนักกีฬา และออกจากสนามโดยมีผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินนำออก 

 12. เข้าพักผ่อนในที่ที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดให้



2 การบังคับตะกร้อ


 หัวข้อเนื้อหา การสร้างความชำนาญการในการฝึกบังคับหรือการควบคุมลูกตะกร้อด้วยการเดาะ

ระยะเวลา   ปฏิบัติ5 ชั่วโมง

ขอบข่ายเนื้อหา

 การฝึกบังคับ หรือควบคุมลูกตะกร้อด้วยเท้า เข่า และศีรษะ

เนื้อหา

 1.  การเดาะลูกตะกร้อด้วยหลังเท้า

 2.  การเดาะลูกตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน

 3.  การเดาะลูกตะกร้อด้วยเข่า

 4.  การเดาะลูกตะกร้อด้วยศีรษะ

กิจกรรมการเรียน

 1.  อธิบายและสาธิต

 2.  ฝึกปฏิบัติ

สื่อและอุปกรณ์การฝึกอบรม

 1.  สนามตะกร้อ

 2.  ลูกตะกร้อ

 3.  VCD

10 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาเซปักตะกร้อ T-Certificate

หัวข้อเนื้อหา การสร้างความชำนาญในการฝึกการพักลูกและการรับ-ส่งลูกตะกร้อ

ระยะเวลา    ปฏิบัติ3 ชั่วโมง 30 นาที

ขอบข่ายเนื้อหา

 ศึกษาและฝึกปฏิบัติวิธีการรับลูกตะกร้อ วิธีการส่งลูกตะกร้อ วิธีการพักลูกตะกร้อ

วิธีการสร้างความชำนาญในการรับและการส่งลูกตะกร้อ ข้อแนะนำการรับและการส่งลูกตะกร้อ

กระทบผนัง

เนื้อหา

 1.  วิธีการรับลูกตะกร้อ

 2.  วิธีการส่งลูกตะกร้อ

 3.  วิธีการพักลูกตะกร้อ

 4.  วิธีการสร้างความชำนาญในการรับและการส่งตะกร้อ

 5.  ข้อแนะนำในการรับและการส่งลูกตะกร้อกระทบผนัง

กิจกรรมการเรียน

 1.  อธิบาย-สาธิต

 2.  ปฏิบัติแยกกลุ่ม

 3.  อภิปราย-สรุป

สื่อและอุปกรณ์การฝึกอบรม

 1.  สนามตะกร้อ

 2.  ลูกตะกร้อ

 3.   VCD


   การอบ

จุดมุ่งหมาย 

• เพื่อกระตุ้นระบบการเผาผลาญอาหารในร่างกายสำหรับความพร้อมที่จะหลั่งสารพลังงาน 

• เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตของร่างกาย 

• เพื่อลดระยะเวลาการหดตัวและการตอบสนองของกล้ามเนื้อ 

• เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ 

• เพื่อพัฒนาความแข็งแรงเอ็นยึดข้อต่างๆ เอ็นข้อต่อที่คอ ไหล่ เข่า ข้อเท้า ข้อศอก การฝึกด้วยทักษะกีฬาชนิดนั้นๆ 

วิธีอบอุ่นร่างกาย

 • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนไหว (Dinamic Stretching) 

• การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่ (Static Stretching) หลังจากยืดเหยียดกล้ามเนื้อและกายบริหารแล้ว จะใช้แบบฝึกทักษะต่อเพื่อเตรียม ความพร้อมระหว่างกล้ามเนื้อต่างๆ กับการสั่งการด้วยสายตา เช่น แบบฝึกทักษะการรับ-ส่งลูกตะกร้อ เป็นต้น 

การอบอุ่นร่างกายโดยทั่วไป ประกอบด้วย

 • การวิ่งเหยาะๆ การบริหารกล้ามเนื้อด้วยการยืดเหยียด (Streching)

 • มีระยะเวลาความเข้มให้พอเหมาะ โดยไม่เกิดความเมื่อยล้า เมื่อเหงื่อเริ่มออกแสดงว่า อุณหภูมิในร่างกายถึงจุดเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม การอบอุ่นร่างกายสำหรับนักกีฬาเซปักตะกร้อ ควรเริ่มจากการวิ่งช้าๆ การบริหารร่างกาย จากนั้นจึงเป็นท่าเฉพาะ เพื่อเตรียมความพร้อมร่างกายไว้แข่งขัน โดยใช้เวลา ไม่ควรเกิน 20-30 นาที หากเกินจะเป็นการใช้พลังงานมากไป ควรเก็บพลังงานไว้ใช้ขณะแข่งขันจริง คำว่า “เหมาะสมหรือพอเหมาะ” จะเปลี่ยนแปลงตามตัวบุคคลและสภาพอากาศ

การคลายอุ่น (Cool Down) จุดมุ่งหมาย • เพื่อลดการสะสมของกรดแลคติคในกล้ามเนื้อ • เพื่อลดการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อที่เกิดหลังจากการออกกำลังกาย • เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับสู่ภาวะปกติ • เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดจากกล้ามเนื้อเข้าสู่หัวใจ • เพื่อช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย หลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก • ช่วยพัฒนาความยืดหยุ่นหรือความอ่อนตัว (Flexibility) วิธีการคลายอุ่น • ลดความหนักของกิจกรรมลงอย่างช้าๆ เช่น การเดินหรือวิ่งช้าๆ 5-10 นาที • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching Exercise) ควรยืดเหยียดแบบคงค้าง ไว้กับที่ (Static Stretching) ซึ่งสามารถทำได้ 2 แบบ คือ • การยืดเหยียดด้วยตัวเอง (Active Stretching) • การยืดเหยียดโดยผู้อื่นกระทำให้ (Passive Stretching)



4การเสิร์ฟ 

พูดถึงกีฬาตะกร้อแล้ว หลาย ๆ คนคงจะนึกถึงลีลาการกระโดดขึ้นฟาดหน้าเน็ตที่ดูแล้วสวยงาม เร้าใจ แต่อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันและถือเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของกีฬาชนิดนี้ ก็ต้องยกให้ “ลูกเสิร์ฟ” ซึ่งปัจจุบันหลาย ๆ คนก็คงได้เห็นการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าที่หนักหน่วงที่สร้างชื่อมาจาก “โจ้” สืบศักดิ์ ผันสืบ ในยุคก่อน จนมาถึงปัจจุบันที่ต้องยกให้ “ยาวปืนใหญ่’ สิทธิพงศ์ คำจันทร์ ที่ยกเท้าเสิร์ฟแต่ละทีมีคะแนนให้ได้ลุ้นกันตลอด วันนี้เราจะพาทุกท่านไปดูกันว่า “การเสิร์ฟตะกร้อ” นอกจากหลังเท้าแล้ว มีอะไรอีกบ้าง

 

ลูกเสิร์ฟข้างเท้า - (แม่นยำ - ลูกหมุนรับยาก!)

 

ในยุคก่อนที่จะมีการคิดค้นการเสิร์ฟลูกหลังเท้า ตัวเสิร์ฟทุกคนจะใช้ข้างเท้าในการเสิร์ฟเป็นส่วนใหญ่ และถือว่าเป็นการเสิร์ฟที่มีความหลากหลาย อาจจะไม่ได้หนักหน่วงมากนัก แต่การเสิร์ฟด้วยข้างเท้า ถือว่าเป็นอาวุธเด็ดในการใช้ความแม่นยำจู่โจมจุดอ่อนคู่แข่งได้ดี ซึ่งตัวเสิร์ฟที่ใช้ข้างเท้าเสิร์ฟนั้น หากสามารถฉีกขาได้มาก ๆ ก็สามารถเสิร์ฟได้หนักหน่วงไม่แพ้ลูกหลังเท้า แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่นักตะกร้อหลายคนต่างไม่อยากเจอลูกเสิร์ฟข้างเท้า นั้นคือลูกเสิร์ฟที่ทั้งพุ่งตรง รวมถึงความปั่นของลูกตะกร้อ ก็เป็นสิ่งที่รับยากด้วยเช่นกัน

5 ขั้นตอนการฝึกการเล่นตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน

1.  ผู้เล่นเตรียมรับลูกที่ลอยมา  โดยยืนทรงตัวแยกขาทั้งสองข้างย่อตัวลงเล็กน้อยตามองตรงไปยังลูกตะกร้อ  ยกเท้าที่จะเตะให้ข้างเท้าด้านในขนานกับพื้นแล้วเตะลูกเป็นแนวตรงและเอนตัว ไปด้านหลัง (ดังรูปที่  1 - 2)  
2.  เมื่อลูกที่เตะลอยขึ้น  ผู้เล่นย่อเข่าข้างที่ไม่ได้เตะ  ให้เท้าที่จะใช้เตะอยู่ด้านหลังเหวี่ยงเท้าข้างที่จะเตะสัมผัสลูกด้วยข้าง เท้าด้านในเพื่อส่งลูกไปตามทิศทางที่ต้องการ 



การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า
            การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า หมายถึง การเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า  เบาๆ ซ้ำกันหลายๆครั้ง เป็นการเตะเพื่อบังคับลูกให้อยู่ใกล้ตัวในระดับสูงเกินสะเอว หลักการฝึกเช่นเดียวกับการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า แต่มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งมีหลักการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า ดังนี้
1. การเดาะลูกด้วยหลังเท้า ปลายเท้าที่เดาะลูกจะกระดกขึ้น และลูกตะกร้อจะถูกหลังเท้าค่อนไปทางปลายเท้าบริเวณโคนนิ้วเท้าทั้งห้า ใช้ปลายเท้าตวัดลูกตะกร้อให้ลอยขึ้นมาตรง ๆ
2.  ยกเท้าที่เดาะลูกให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. ขณะที่เดาะลูกควรก้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
4. ควรฝึกเดาะลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าให้ได้ทั้งสอง 

การเดาะตะกร้อด้วยเข่า
         ยืนในท่าเตรียมพร้อม มือถือลูกตะกร้อโยนแล้วเดาะด้วยเข่าข้างถนัดต่อเนื่องกันจนกว่าลูกตะกร้อจะ ตกพื้น แล้วหยิบลูกตะกร้อขึ้นมาเดาะใหม่ ปฏิบัติเหมือนเดิมหลาย ๆ ครั้ง เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า การเดาะด้วยเข่าข้างที่ถนัดดีแล้ว ให้เปลี่ยนเดาะด้วยเข่าข้างที่ไม่ถนัดบ้าง หรืออาจจะสลับการเดาะด้วยเข่าทั้งสองข้างก็ได้

                                                                              การเล่นตะกร้อด้วยศีรษะ
       เป็นทักษะพื้นฐานที่มีความสำคัญสำหรับการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อเป็นอย่างมาก นิยมใช้ในการเปิดลูกเสิร์ฟ การรุกด้วยศีรษะ 
( การเขก ) การรับ การส่ง การชงลูก หรือการตั้งลูกตะกร้อ และการสกัดกั้นหรือการบล็อกลูกจากการรุกของฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นจะต้องฝึกหัดการเล่นตะกร้อด้วยศีรษะได้หลาย ๆ ลักษณะ โดยเฉพาะผู้เล่นตำแหน่งหน้าซ้ายและหน้าขวา จะต้องเล่นตะกร้อด้วยศีรษะได้เป็นอย่างดี 



                            

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การฝึกเล่นตะกร้อ

เทคนิคเสิร์ฟตะกร้อจี้เกมรับกดดันคู่แข่ง

การบังคับตะกร้อ