การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up)

 การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) 

จุดมุ่งหมาย 

• เพื่อกระตุ้นระบบการเผาผลาญอาหารในร่างกายสำหรับความพร้อมที่จะหลั่งสารพลังงาน 

• เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตของร่างกาย 

• เพื่อลดระยะเวลาการหดตัวและการตอบสนองของกล้ามเนื้อ 

• เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ 

• เพื่อพัฒนาความแข็งแรงเอ็นยึดข้อต่างๆ เอ็นข้อต่อที่คอ ไหล่ เข่า ข้อเท้า ข้อศอก การฝึกด้วยทักษะกีฬาชนิดนั้นๆ 

วิธีอบอุ่นร่างกาย

 • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนไหว (Dinamic Stretching) 

• การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่ (Static Stretching) หลังจากยืดเหยียดกล้ามเนื้อและกายบริหารแล้ว จะใช้แบบฝึกทักษะต่อเพื่อเตรียม ความพร้อมระหว่างกล้ามเนื้อต่างๆ กับการสั่งการด้วยสายตา เช่น แบบฝึกทักษะการรับ-ส่งลูกตะกร้อ เป็นต้น 

การอบอุ่นร่างกายโดยทั่วไป ประกอบด้วย

 • การวิ่งเหยาะๆ การบริหารกล้ามเนื้อด้วยการยืดเหยียด (Streching)

 • มีระยะเวลาความเข้มให้พอเหมาะ โดยไม่เกิดความเมื่อยล้า เมื่อเหงื่อเริ่มออกแสดงว่า อุณหภูมิในร่างกายถึงจุดเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม การอบอุ่นร่างกายสำหรับนักกีฬาเซปักตะกร้อ ควรเริ่มจากการวิ่งช้าๆ การบริหารร่างกาย จากนั้นจึงเป็นท่าเฉพาะ เพื่อเตรียมความพร้อมร่างกายไว้แข่งขัน โดยใช้เวลา ไม่ควรเกิน 20-30 นาที หากเกินจะเป็นการใช้พลังงานมากไป ควรเก็บพลังงานไว้ใช้ขณะแข่งขันจริง คำว่า “เหมาะสมหรือพอเหมาะ” จะเปลี่ยนแปลงตามตัวบุคคลและสภาพอากาศ

การคลายอุ่น (Cool Down) จุดมุ่งหมาย • เพื่อลดการสะสมของกรดแลคติคในกล้ามเนื้อ • เพื่อลดการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อที่เกิดหลังจากการออกกำลังกาย • เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับสู่ภาวะปกติ • เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดจากกล้ามเนื้อเข้าสู่หัวใจ • เพื่อช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย หลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก • ช่วยพัฒนาความยืดหยุ่นหรือความอ่อนตัว (Flexibility) วิธีการคลายอุ่น • ลดความหนักของกิจกรรมลงอย่างช้าๆ เช่น การเดินหรือวิ่งช้าๆ 5-10 นาที • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching Exercise) ควรยืดเหยียดแบบคงค้าง ไว้กับที่ (Static Stretching) ซึ่งสามารถทำได้ 2 แบบ คือ • การยืดเหยียดด้วยตัวเอง (Active Stretching) • การยืดเหยียดโดยผู้อื่นกระทำให้ (Passive Stretching) 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การฝึกเล่นตะกร้อ

เทคนิคเสิร์ฟตะกร้อจี้เกมรับกดดันคู่แข่ง

การบังคับตะกร้อ