บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2021

การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up)

  การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up)  จุดมุ่งหมาย   • เพื่อกระตุ้นระบบการเผาผลาญอาหารในร่างกายสำหรับความพร้อมที่จะหลั่งสารพลังงาน  • เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตของร่างกาย  • เพื่อลดระยะเวลาการหดตัวและการตอบสนองของกล้ามเนื้อ  • เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ  • เพื่อพัฒนาความแข็งแรงเอ็นยึดข้อต่างๆ เอ็นข้อต่อที่คอ ไหล่ เข่า ข้อเท้า ข้อศอก การฝึกด้วยทักษะกีฬาชนิดนั้นๆ  วิธีอบอุ่นร่างกาย  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนไหว (Dinamic Stretching)  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่ (Static Stretching) หลังจากยืดเหยียดกล้ามเนื้อและกายบริหารแล้ว จะใช้แบบฝึกทักษะต่อเพื่อเตรียม ความพร้อมระหว่างกล้ามเนื้อต่างๆ กับการสั่งการด้วยสายตา เช่น แบบฝึกทักษะการรับ-ส่งลูกตะกร้อ เป็นต้น  การอบอุ่นร่างกายโดยทั่วไป ประกอบด้วย  • การวิ่งเหยาะๆ การบริหารกล้ามเนื้อด้วยการยืดเหยียด (Streching)  • มีระยะเวลาความเข้มให้พอเหมาะ โดยไม่เกิดความเมื่อยล้า เมื่อเหงื่อเริ่มออกแสดงว่า อุณหภูมิในร่างกายถึงจุดเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม การอบอุ่นร่างกายสำหรับนัก...

เทคนิคเสิร์ฟตะกร้อจี้เกมรับกดดันคู่แข่ง

รูปภาพ
  “เสิร์ฟ” แบบไหนให้ได้แต้ม ! 5 เทคนิคเสิร์ฟตะกร้อจี้เกมรับกดดันคู่แข่ง พูดถึงกีฬาตะกร้อแล้ว หลาย ๆ คนคงจะนึกถึงลีลาการกระโดดขึ้นฟาดหน้าเน็ตที่ดูแล้วสวยงาม เร้าใจ แต่อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันและถือเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของกีฬาชนิดนี้ ก็ต้องยกให้ “ลูกเสิร์ฟ” ซึ่งปัจจุบันหลาย ๆ คนก็คงได้เห็นการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าที่หนักหน่วงที่สร้างชื่อมาจาก “โจ้” สืบศักดิ์ ผันสืบ ในยุคก่อน จนมาถึงปัจจุบันที่ต้องยกให้ “ยาวปืนใหญ่’ สิทธิพงศ์ คำจันทร์ ที่ยกเท้าเสิร์ฟแต่ละทีมีคะแนนให้ได้ลุ้นกันตลอด วันนี้เราจะพาทุกท่านไปดูกันว่า “การเสิร์ฟตะกร้อ” นอกจากหลังเท้าแล้ว มีอะไรอีกบ้าง   ลูกเสิร์ฟข้างเท้า - (แม่นยำ - ลูกหมุนรับยาก!)   ในยุคก่อนที่จะมีการคิดค้นการเสิร์ฟลูกหลังเท้า ตัวเสิร์ฟทุกคนจะใช้ข้างเท้าในการเสิร์ฟเป็นส่วนใหญ่ และถือว่าเป็นการเสิร์ฟที่มีความหลากหลาย อาจจะไม่ได้หนักหน่วงมากนัก แต่การเสิร์ฟด้วยข้างเท้า ถือว่าเป็นอาวุธเด็ดในการใช้ความแม่นยำจู่โจมจุดอ่อนคู่แข่งได้ดี ซึ่งตัวเสิร์ฟที่ใช้ข้างเท้าเสิร์ฟนั้น หากสามารถฉีกขาได้มาก ๆ ก็สามารถเสิร์ฟได้หนักหน่วงไม่แพ้ลูกหลังเท้า แต่สิ่งสำคัญที...

การฝึกเล่นตะกร้อ

รูปภาพ
  ขั้นตอนการฝึกการเล่นตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน 1.  ผู้เล่นเตรียมรับลูกที่ลอยมา  โดยยืนทรงตัวแยกขาทั้งสองข้างย่อตัวลงเล็กน้อยตามองตรงไปยังลูกตะกร้อ  ยกเท้าที่จะเตะให้ข้างเท้าด้านในขนานกับพื้นแล้วเตะลูกเป็นแนวตรงและเอนตัว ไปด้านหลัง (ดังรูปที่  1 - 2)   2.  เมื่อลูกที่เตะลอยขึ้น  ผู้เล่นย่อเข่าข้างที่ไม่ได้เตะ  ให้เท้าที่จะใช้เตะอยู่ด้านหลังเหวี่ยงเท้าข้างที่จะเตะสัมผัสลูกด้วยข้าง เท้าด้านในเพื่อส่งลูกไปตามทิศทางที่ต้องการ  การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า             การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า หมายถึง การเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า  เบาๆ ซ้ำกันหลายๆครั้ง เป็นการเตะเพื่อบังคับลูกให้อยู่ใกล้ตัวในระดับสูงเกินสะเอว หลักการฝึกเช่นเดียวกับการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า แต่มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งมีหลักการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า ดังนี้ 1. การเดาะลูกด้วยหลังเท้า ปลายเท้าที่เดาะลูกจะกระดกขึ้น และลูกตะกร้อจะถูกหลังเท้าค่อนไปทางปลายเท้าบริเวณโคนนิ้วเท้าทั้งห้า ใช้ปลายเท้าตวัดลูกตะกร้อให้ลอยขึ้นมาตรง ๆ 2.  ยกเท้าที่เดาะลูกใ...